นักวิทย์ไขปริศนา การผสมพันธุ์สุดแปลกของ “ค้างคาวท้องสีน้ำตาล”
ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ การผสมพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั้นจะมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด โดยต้องมีกระบวนการของ “การสอดใส่” เพื่อให้สเปิร์มหรืออสุจิของตัวผู้มีโอกาสปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ของตัวเมีย ซึ่งมักอยู่ในรังไข่ภายในช่องคลอด
แต่ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์พบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดแรก ที่กระบวนการผสมพันธุ์แตกต่างจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป นั่นคือ “พวกมันไม่มีการสอดใส่” และอวัยวะเพศชายมีไว้เพื่อทำหน้าที่เป็น “แขน” เท่านั้น
“เจมส์ เว็บบ์” เผยภาพใจกลางทางช้างเผือก เห็นดาวฤกษ์กว่า 5 แสนดวง
นักวิทย์จีนสร้าง “ลิงไคมีรา” จากสเต็มเซลล์ตัวแรกของโลก
รู้จัก “ตะกวดไร้หู” สิ่งมีชีวิตที่คล้ายกับ “มังกร” มากที่สุดในโลก
เรากำลังพูดถึง “ค้างคาวท้องสีน้ำตาล” (Eptesicus serotinus) ค้างคาวที่พบได้ในหลายพื้นที่ของยุโรปและเอเชีย หลังมีการพบหลักฐานเป็นภาพวิดีโอที่แสดงให้เห็นขั้นตอนการผสมพันธุ์ของพวกมัน
หลักฐานแรกมาจากกล้องวงจรปิดของโบสถ์ เซนต์แมทเธียสในหมู่บ้านแคสเทนเรย์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งแสดงให้เห็นพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของค้างคาวท้องสีน้ำตาลที่ค่อนข้างชัดเจนว่าไม่มีการสอดใส่อวัยวะเพศ
นักวิจัยเชื่อว่า คลิปดังกล่าวเป็นหลักฐานหลักฐานชิ้นแรกที่แสดงให้เห็นว่า มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ผสมพันธุ์โดยไม่มีการสอดใส่อยู่บนโลกด้วย
ดร.นิโคลัส ฟาเซล ผู้เชี่ยวชาญด้านค้างคาวจากมหาวิทยาลัยโลซานน์ กล่าวว่า “มันเป็นเรื่องน่าประหลาดใจ แต่จากหลักฐานที่เรารวบรวมได้ ค่อนข้างชัดเจนว่าไม่มีการสอดใส่”
ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์สับสนกับการผสมพันธุ์ของค้างคาวท้องสีน้ำตาลมานานแล้ว เนื่องจากกายวิภาคของพวกมัน ค้างคาวท้องสีน้ำตาลตัวผู้จะมีอวัยวะเพศชายที่ใหญ่มาก และส่วนปลายเป็นรูปหัวใจที่กว้างกว่าช่องคลอดของค้างคาวตัวเมียถึง 7 เท่า ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะเกิดการสอดใส่ เพราะอาจทำให้ช่องคลอดค้างคาวตัวเมียฉีกขาด
ดังนั้นนักวิจัยจึงตั้งสมมติฐานไว้ 2 ประการ หนึ่งคือค้างคาวท้องสีน้ำตาลมีการสอดใส่ แต่อวัยวะเพศชายจะเข้าไปแข็งตัวในช่องคลอด ความเป็นไปได้ที่สองคือ พวกมันผสมพันธุ์โดยการสัมผัส คล้ายกับในนก ที่ใช้ทวารสัมผัสกันในการปฏิสนธิ แต่พฤติกรรมดังกล่าวไม่เคยพบเห็นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมาก่อน
การค้นพบล่าสุดนี้ เกิดจากการที่เมื่อปี 2020 ฟาเซลได้รับอีเมลจาก ยาน เยอเกน ซึ่งเฝ้าสังเกตการณืพฤติกรรมค้างคาวอยู่ที่โบสถ์เซนต์แมทเธียส และบันทึกความผิดปกติได้
หลายเดือนต่อมา มีอีเมลอีกฉบับมาถึงฟาเซล คราวนี้มาจากยูเครน โดยนักวิจัยที่ศูนย์ฟื้นฟูค้างคาวในคาร์คิฟ มีภาพวิดีโอที่ดูเหมือนว่าจะแสดงให้เห็นการผสมพันธุ์ของค้างคาวท้องสีน้ำตาลโดยไม่มีการสอดใส่
โดยรวมแล้ว ทีมวิจัยมีวิดีโอเหตุการณ์การผสมพันธุ์ของค้างคาวท้องสีน้ำตาล 97 รายการ โดย 93 รายการมาจากโบสถ์เซนต์แมทเธียส และ 4 รายการจากศูนย์ฟื้นฟูค้างคาวในคาร์คิฟ
การวิเคราะห์วิดีโอพบว่า ไม่มีค้างคาวท้องสีน้ำตาลตัวผู้ตัวใดเลยที่ผสมพันธุ์แบบสอดใส่ แต่พวกมันใช้อวัยวะเพศขนาดใหญ่เป็นเหมือนแขนเสริม เพื่อใช้ดันเยื่อหุ้มหางของค้างคาวตัวเมียออก และสัมผัสกับช่องคลอดเพื่อปล่อยอสุจิ
กระบวนการผสมพันธุ์ของค้างคาวท้องสีน้ำตาลกินเวลาเฉลี่ยประมาณ 1 ชั่วโมง แต่บางเคสก็นานถึงเกือบ 13 ชั่วโมง
นักวิทยาศาสตร์ติดตามผลด้วยการตรวจสอบกายวิภาคของค้างคาวท้องสีน้ำตาล และพบเส้นขนบริเวณปลายอวัยวะเพศชาย ซึ่งคาดว่ามีเพื่อการตอบสนองทางประสาทสัมผัสในการค้นหาช่องคลอด
นักวิทย์พบว่า หลังการผสมพันธุ์ ค้างคาวตัวเมียบางตัวก็ยังมีของเหลวเหลืออยู่ในช่องคลอด ซึ่งบ่งบอกว่า อย่างน้อยค้างคาวตัวผู้ก็พยายามฝากสเปิร์มไว้
ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์วางแผนที่จะเก็บตัวอย่างจากค้างคาวท้องสีน้ำตาลหลังผสมพันธุ์ และกำลังสร้างกล่องวางตามจุดต่าง ๆ เพื่อถ่ายทำคู่รักค้างคาวจากทุกมุม
ทั้งนี้ ศาสตราจารย์พอล เรซีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านค้างคาวจากมหาวิทยาลัยเอ็กซีเตอร์ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้ บอกว่า เขาไม่เชื่อกับการค้นพบนี้ “ทำไมพวกมันถึงต้องผสมพันธุ์โดยไม่สอดใส่ ซึ่งเสี่ยงต่อการ ‘สิ้นเปลือง’ น้ำอสุจิ”
ขณะที่ ศาสตราจารย์แกเร็ธ โจนส์ แห่งมหาวิทยาลัยบริสตอล ผู้ได้รับรางวัลอิกโนเบลจากการบันทึกพฤติกรรมการออรัลเซ็กซ์ในค้างคาวผลไม้ กล่าวว่า เขาค่อนข้างเชื่อในการค้นพบนี้
โจนส์บอกว่า “พฤติกรรมทางเพศของค้างคาวไม่เคยหยุดที่จะทำให้เราประหลาดใจเลย ก่อนหน้านี้เราพบว่า ตัวผู้จะปัสสาวะเข้าไปในถุงต่อมกล่นบริเวณปีกเพื่อดึงดูดตัวเมีย หรือพฤติกรรมที่ค้างคาวตัวเมียจะแบ่งปันคู่นอนร่วมกัน หรือการทำออรัลเซ็กซ์ และตอนนี้ก็มีการพบอีกว่า พวกมันผสมพันธุ์โดยไม่สอดใส่!”
เรียบเรียงจาก The Guardianคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ภาพจาก Shutterstock
รู้วันโอนเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท พร้อมวิธีเช็กเข้าบัญชี
อัปเดต! ปฏิทินวันหยุด 2567 เช็กวันหยุดราชการ-วันหยุดธนาคาร
เช็กสถิติบอลไทย พบ สิงคโปร์ ก่อนดวลฟุตบอลโลก 2026 โซนเอเชีย