ตั้งแต่ต้นปี 2566 เศรษฐกิจไทยนอกจากได้ปัจจัยหนุนจากนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าท่องเที่ยวแล้ว ยังได้ปัจจัยหนุนจากจีนที่ประกาศเปิดประเทศครั้งแรกในรอบ 3 ปี หลังจากใช้มาตรการควบคุมโควิด-19 อย่างเข้มงวดมาเป็นเวลานาน ซึ่งช่วยหนุนให้ชาวจีนเข้ามาท่องเที่ยวในไทยมากขึ้น ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยว
จากปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้มีเม็ดเงินไหลเข้าตลาดหุ้นไทย ในกลุ่มที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจฟื้นตัว หนุนดัชนีเพิ่มขึ้น 16.56 จุด หรือ +0.99% ในช่วงเดือน ม.ค.
แนวโน้มหุ้นไทยปี 2566 โบรกฯมองเป้า 1,800 จุด รับท่องเที่ยวฟื้น-เงินทุนไหลเข้า
ราคาทองวันนี้ ลดลง 50 บาท จากดอลลาร์แข็งค่า ฉุดทองต่างประเทศร่วง
การเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในรอบ 1 ปี
แต่ตลาดหุ้น เผชิญกับแรงกดดันจากธนาคารกลางหลายประเทศ ปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ ได้สร้างความกังวลให้กับตลาด ว่าจะกระทบเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย ส่งผลให้นักลงทุนแห่เทขายสินทรัพย์เสี่ยง โดยตลาดหุ้นไทยปรับลดราว 6% จากระดับสูงสุดของ หรือลดลง 95.88 จุด ปี แตะที่ 1,599.65 จุด
ขณะที่ในต้นเดือน มี.ค. ได้เกิดภาวะธนาคารในสหรัฐฯล้มละลาย และเครดิค สวิส (Credit Suisse) ธนาคารเก่าแก่ 200 ปี ยักษ์ใหญ่ในสวิตเซอร์แลนด์ เกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง ยิ่งซ้ำเติมความกังวลเศรษฐกิจถดถอย จนตลาดวิตกว่าจะลุกลามบานปลาย ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตดังกล่าว กดดัชนีร่วง 2 วันติดต่อกัน รวม 5.06% หรือ ลดลงถึง 90 จุด แตะระดับ 1,518.66 จุด
อย่างไรก็ตาม หลังจากวิกฤตธนาคารที่เกิดขึ้นดังกล่าว ได้ทำให้ธนาคารกลาง ๆ เร่งเข้าไปช่วยเหลือ เพื่อป้องกันผลกระทบไม่ให้ลุกลามไปมากกว่านี้ ทั้ง เครดิค สวิส ด้วยความช่วยเหลือของธนาคารสวิส ได้ถูกขายกิจการทั้งหมดให้กับคู่แข่ง ธนาคารยูบีเอส (UBS) ส่วนฝั่งสหรัฐฯ ธนาคารซิลิคอนแวลลีย์ (Silicon Valley Bank) ได้รับการช่วยเหลือจากสถาบันการเงินของรัฐบาลสหรัฐฯ เข้ามาดูแลเงินฝากลูกค้า ก่อนที่ ซิลิคอนแวลลีย์ จะถูกขายกิจการให้กับ ธนาคารเฟิร์ส ซิติเซน (First Citizens BancShares) ในเวลาต่อมา
จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ได้สร้างความผ่อนคลายให้กับนักลงทุนทั่วโลก ดึงดูดกระแสเงินทุนไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง โดยตลาดหุ้นไทย ฟื้นกลับมาจากจุดต่ำสุดของปี +5.6% หรือเพิ่มขึ้น 85.25 จุด อยู่ที่1,695.99 จุด และลงต่ำสุด 1,518.66 จุดในช่วงวิกฤติแบงก์ในสหรัฐจนวันที่ 31 มี.ค. ปิดที่ 1,609.17 จุด รวมตลอดทั้งไตรมาส 1/66 หุ้นไทยปรับลดลง 4.16% หรือลด 69.80 จุด
บล.กสิกรไทย ระบุว่าหุ้นไทยกลับมาเคลื่อนไหวเหนือระดับ 1,600 จุดได้อีกครั้ง โดยหุ้นไทยปรับตัวขึ้นเกือบตลอดสัปดาห์ตามทิศทางหุ้นต่างประเทศ โดยมีแรงหนุนจากรายงานข่าวเกี่ยวกับการเข้าซื้อธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ของสหรัฐฯ และผลการประชุมกนง.ที่ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด อย่างไรก็ดี หุ้นไทยย่อตัวลงช่วงสั้นๆระหว่างสัปดาห์ โดยถูกกดดันจากตัวเลขส่งออกเดือนก.พ. ของไทยที่ออกมาหดตัวต่อเนื่อง ก่อนจะขยับขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ อนึ่ง หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับขึ้นมากสุดในสัปดาห์นี้ โดยมีแรงซื้อหุ้นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่แห่งหนึ่งช่วยหนุน จากการเก็งกำไรเรื่องผลประกอบการ ขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงานมีแรงหนุนจากราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวขึ้น
ในวันศุกร์ (31 มี.ค.) ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,609.17 จุด เพิ่มขึ้น 1.09% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 43,880.00 ล้านบาท ลดลง 16.16% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 0.66% มาปิดที่ระดับ 538.10 จุด
สำหรับสัปดาห์ถัดไป (3-7 เม.ย.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,585 และ 1,575 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,615 และ 1,625 จุด ตามลำดับ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมี.ค. ของไทย และทิศทางเงินทุนต่างชาติ ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนของ ADP ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานเดือนมี.ค. รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ ดัชนี PMI เดือนมี.ค. ของญี่ปุ่น จีน และยูโรโซน รวมถึงดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนก.พ. ของยูโรโซน
ค่าเงินยังผันผวน ในกรอบ33.80-34.50 บาทต่อดอลลาร์
ด้านเงินบาทแกว่งตัวผันผวนในกรอบ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงช่วงต้นสัปดาห์ตามทิศทางเงินหยวน หลังตัวเลขกำไรภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.-ก.พ. ของจีนออกมาต่ำกว่าที่คาด อย่างไรก็ดีเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นตามภาพรวมตลาดหุ้นและสกุลเงินเอเชีย หลังจากที่ดีลเข้าซื้อกิจการธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ของธนาคารเฟิร์สต์ ซิติเซนส์ แบงก์ช่วยคลายความกังวลเกี่ยวกับปัญหาในภาคธนาคารของสหรัฐฯ ลงบางส่วน เงินบาทเพิ่มช่วงบวกต่อเนื่องหลังผลการประชุมกนง. ช่วงกลางสัปดาห์ ซึ่งมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ไปที่ 1.75% พร้อมส่งสัญญาณว่า การปรับนโยบายการเงินเข้าสู่ภาวะปกติ (Policy Normalization) ยังคงต้องดำเนินต่อไป
นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ฯ ยังอ่อนค่าลง หลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/65 (final) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ออกมาอ่อนแอกว่าที่ตลาดคาด อย่างไรก็ดีแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ชะลอลงบางส่วน ก่อนการรายงานข้อมูลดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐฯ ในเดือนก.พ.
ในวันศุกร์ที่ 31 มี.ค. 2566 เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 34.16 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับ 34.15 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (24 มี.ค.) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 3-7 เม.ย. 2566 นั้น นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 1,985 ล้านบาท แต่มีสถานะเป็น Net Inflows เข้าตลาดพันธบัตรไทยที่ 1,833 ล้านบาท (ซื้อสุทธิ 7,811 ล้านบาท ขณะที่มีตราสารหนี้หมดอายุ 5,978 ล้านบาท)
สัปดาห์ถัดไป (3-7 เม.ย.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 33.80-34.50 บาทต่อดอลลาร์ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อเดือนมี.ค.ของไทย พัฒนาการปัญหาของแบงก์ในสหรัฐฯ และยุโรป ทิศทางเงินทุนต่างชาติและสกุลเงินเอเชีย ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี ISM/PMI ภาคการผลิต/ภาคบริการ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่างงาน และข้อมูลการจ้างงาน
ภาคเอกชนของ ADP เดือนมี.ค. ข้อมูลการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนก.พคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามผลการประชุม RBA และ RBNZ ตลอดจนดัชนี PMI ภาคการผลิต/ภาคบริการเดือนมี.ค. ของจีน ยูโรโซน และอังกฤษ