ที่ผ่านมา…ทั้งภาคประชาชน ทั้งภาคเอกชน ร้องแรกแหกกระเชอให้รัฐมาดูสารพัดค่าไฟ ค่านํ้ามัน ค่าแก๊ส พุ่งทะยานแพงกระเป๋าฉีก ร้องจนเสียงแหบเสียงแห้ง แต่ดูเหมือนรัฐจะไม่ค่อยได้ยินเสียงเท่าไร ให้ทุกคนยอมรับชะตากรรมกันเอง ทั้งที่ส่วนหนึ่งเกิดจากการบริหารผิดพลาดของตัวเอง
แตกต่างจากช่วงนี้ที่รัฐเริ่มได้ยินเสียงความเดือดร้อนมากขึ้น ไม่รู้เป็นผลจากสัญญาณยุบสภา ใกล้เลือกตั้งใหม่ด้วยหรือไม่!!! เริ่มเห็นการเปิดห้องประชุมกระทรวงพลังงาน ต้อนรับขับสู้คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. เพื่อแจกแจงการบริหารราคาพลังงานโดยเฉพาะค่าไฟ
ใกล้เลือกตั้งเอาใจเต็มสูบ
ณ เวลานี้ ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะเข้าใกล้ฤดูเลือกตั้งหรือไม่!! จึงได้เห็นการประกาศปรับลดราคานํ้ามันดีเซลลงลิตรละ 50 สต. มีผลวันที่ 15 ก.พ. ที่จะถึงนี้ และบอกด้วยว่า มีโอกาสที่ได้เห็นการปรับลดลงรวม ๆ แล้วถึงลิตรละ 2 บาทอีกต่างหาก!!
ทั้งที่ก่อนหน้านี้ กระทรวงพลังงาน ย้ำแล้วย้ำอีก แม้ราคานํ้ามันตลาดโลกจะเริ่มลดลง แต่ไม่อยากให้คาดหวังว่าราคานํ้ามันดีเซลจะลดลงตามได้เหมือนกลุ่มเบนซิน แก๊สโซฮอล์ เพราะกองทุนนํ้ามันเชื้อเพลิง ยังแบกหนี้ติดลบตัวแดงเถือกถึง 1.13 แสนล้านบาท โดยเฉพาะหนี้ฝั่งนํ้ามัน ที่แทบจะทั้งหมดต้องไปอุ้มราคาดีเซล ไม่ให้เกินกรอบลิตรละ 35 บาท จนติดลบ 68,133 ล้านบาท ส่วนหนี้ฝั่งก๊าซแอลพีจีก็ไม่แพ้กัน ติดลบกว่า 45,303 ล้านบาท
ส่วนค่าไฟยังพอให้ได้ลุ้นบ้าง จากปีที่ผ่านมาขู่ฟ่อปีนี้แนวโน้มค่าไฟอาจแพงทั้งปี เพราะแม้ราคาต้นทุนพลังงานในการผลิตไฟจะลดลงบ้างแล้ว แต่หนี้ที่ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. แบกรับแทนไปก่อนมากกว่าแสนล้านบาท ต้องเริ่มทยอยจ่ายในปีนี้แล้ว ไม่เช่นนั้น กฟผ.จะอยู่ยาก
ล่าสุด… คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เริ่มเสียงอ่อนลง ทิศทางค่าไฟในงวดหน้า พ.ค.-ส.ค. 66 มีแนวโน้มถูกลงจากงวดนี้ที่ภาคเอกชน จ่ายค่าไฟ 5.33 บาทต่อหน่วย ประชาชนครัวเรือนจ่ายค่าไฟ 4.72 บาทต่อหน่วย จากราคาพลังงานเริ่มปรับลดลง ก็ต้องมาดูว่าจะเคาะราคาอยู่เท่าไร และจะกลับไปใช้ราคาเดียวหรือไม่ อย่างไร เดือน มี.ค. นี้รู้กัน!!!
ลุยสาวไส้ในราคาพลังงาน
เพราะการพิจารณาค่าไฟครั้งนี้ จะมีคณะทำงานจากกกร. ช่วยดูแบบเจาะลึกด้วยว่าอะไรปรับลดลงได้อีก ควรต้องเติม ต้องเสริมอย่างไร ซึ่งพิจารณาได้ 2 ด้าน ด้านแรกเป็นเรื่องดีที่ภาคเอกชน ที่รู้ไส้รู้พุงกันเอง อะไรสมควรลดได้อีก แต่อีกด้านค่าไฟงวดใหม่อาจกลับไปใช้ราคาเดียว เพราะภาคเอกชนไม่ยอมให้ผลักภาระไปให้ภาคเอกชนฝ่ายเดียวแน่นอน ต้นทุนทุกอย่าง!! ต้องถัวเฉลี่ย!! โดยใช้เหตุผลหลัก หากค่าไฟเอกชนแพงโดดแบบครั้งนี้อีก นักลงทุนหนีหมดแน่… เป็นอีกมุมที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเช่นกันว่า รัฐจะบาลานซ์ระหว่างประชาชน และเอกชนอย่างไร?คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
แอลพีจีมีหวังขึ้นยาว
ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจะมีแนวโน้มลดลงทั้งหมด เพราะคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ประกาศขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซแอลพีจีในเดือนมี.ค.นี้ ราคาขายปลีกถัง 15 กก. เพิ่มอีก 15 บาทต่อถัง จาก 408 บาท เป็น 423 บาท และในเดือนอื่น ๆ ก็ไม่รู้ว่าจะต้องปรับขึ้นไปอีกหรือไม่ เพราะเห็นหนี้กองทุนฯ ที่ต้องนำไปอุดหนุนฝั่งก๊าซแอลพีจี ยังติดลบสูงถึง 45,303 ล้านบาท เป็นเรื่องที่ต้องคิดหนักเช่นกัน
ณ เวลานี้ต้องเรียกว่าราคาพลังงานของไทยถูกบิดเบี้ยว ด้วยนโยบายประชานิยม ปรนเปรอคนไทยใช้ราคาพลังงานราคาถูก ไม่สะท้อนราคาตามความเป็นจริงมาอย่างฝังลึกยาวนาน บวกกับอุตสาหกรรมพลังงาน เป็นอุตสาหกรรมใหญ่ที่มีมูลค่านับแสนล้านบาท เห็นได้จากบริษัทขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือ ตลท.
ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมแทบจะทั้งนั้น ทำให้บางคนมองเป็นอุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วยผลประโยชน์ จึงไม่ค่อยมีรัฐมนตรีพลังงานคนไหนกล้าเข้าไปรื้อ ไปขุด ไปแซะ ไปแก้ปัญหาจริงจัง แรก ๆ รัฐมนตรีหลายคนมาแบบขึงขัง สั่งรื้อโน้นนี่ นาน ๆ ไปก็เหมือนเดิม บางรัฐมนตรีที่ดูจริงจังในการแก้ปัญหาหน่อย ก็ออกจากตำแหน่งเร็วเกินกว่าจะแก้ไข จึงทำให้ปัญหาทับถมไปถมมา ไม่ได้รับการแก้ปัญหาที่ถูก ที่ควรจะเป็น
เปิดปมทำค่าไฟแพง
บางเรื่องทั้งภาคเอกชน และภาควิชาการ ยังออกมาสับหน่วยงานที่เกี่ยวเละว่าบริหารผิดพลาดจนทำให้ราคาพลังงานขึ้น โดยเฉพาะค่าไฟ ที่ผ่านมารัฐก็พูดความจริงบางส่วน อ้างแต่ราคาก๊าซที่นำมาผลิตไฟฟ้าแพงขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากก๊าซธรรมชาติเหลว หรือก๊าซแอลเอ็นจีนำเข้าจากต่างประเทศมาแพง ถ้าฟังแบบนี้ก็จะรู้สึกว่าเป็นปัญหาที่ช่วยไม่ได้ แต่อีกสิ่งที่ไม่ได้พูดคือทำไมต้องนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีมาสูงขนาดนี้ ก็เพราะการผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมีการเปลี่ยนผ่านผู้ได้รับสัมปทาน ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย น้อยกว่าเป้าหมายมาก จึงต้องนำเข้าแอลเอ็นจีเข้ามาทดแทน
แถมราคาก๊าซฯ ที่นำไปผลิตไฟฟ้าบางส่วนก็แพงกว่าราคาก๊าซที่ใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ใช้ราคาจากอ่าวไทย ซึ่งมีราคาถูกกว่าราคาเฉลี่ยจากทุกแหล่งก๊าซที่ประชาชนใช้อยู่ ที่ใช้ราคาเฉลี่ยทั้งจากอ่าวไทย เมียนมา และก๊าซธรรมชาติเหลวแอลเอ็นจี จึงทำให้ต้นทุนแพงกว่า
อีกปมประเด็นที่น่าสนใจ ไทยกำลังประกาศตัวเองเป็นเน็ต ซีโร่ รวมทั้งประกาศความเป็นกลางทางคาร์บอน ปี 93 แต่ทุกวันนี้การผลิตไฟฟ้าของไทยยังพึ่งพาก๊าซธรรมชาติถึง 60% ซึ่งก๊าซธรรมชาติถือเป็นหนึ่งในพลังงานฟอสซิลที่ประเทศไทยใช้ ซึ่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่า 60% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด ขณะที่การใช้พลังงานหมุนเวียนยังมีเพียง 13% เท่านั้น
จี้รัฐ 5 ประเด็นแก้ด่วน
ทำให้ที่ผ่านมา มีข้อเสนอจากหลายภาคส่วน เช่น ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอทางออก 5 ประเด็น ทั้งการหยุดอนุมัติสร้างหรือซื้อไฟฟ้าจากพลังงานฟอสซิลทุกกรณี เพราะยิ่งสร้างจะยิ่งเป็นภาระ เนื่องจากมีการผลิตไฟฟ้าที่ล้นเกิน การชะลอการก่อสร้างโรงไฟฟ้าฟอสซิล หรือหากมีการทำสัญญาก่อสร้างกับเอกชนไปแล้วแต่ยังไม่ได้ลงทุนสร้าง ก็ให้ชะลอการก่อสร้างออกไปก่อน โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ เพราะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ค่าไฟแพง การเจรจากับเอกชนเรื่องการลดค่าความพร้อมจ่าย (เอพี) ที่เป็นต้นทุนสำหรับการก่อสร้าง บำรุงรักษาโรงไฟฟ้า หากโรงไฟฟ้าไหนที่ไม่ได้เดินเครื่องเป็นระยะเวลานานหรือได้รับเงินทุนสร้างโรงไฟฟ้าคืนหมดแล้ว ควรขอลดค่าความพร้อมจ่ายได้หรือไม่ โดยขึ้นอยู่กับการเจรจาของภาครัฐกับเอกชน
นอกจากนี้ยังมีการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานหมุนเวียนที่มีต้นทุนต่ำกว่าก๊าซธรรมชาติเหลวทุกกรณี ทำให้ลดการใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว หรือแอลเอ็นจี ลงได้ทันที และการเปิดเสรีสำหรับการติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป แบบเน็ต มิเตอริ่ง ที่เรียกร้องกันมา หมายความว่า เดือนหนึ่งเราสามารถผลิตไฟฟ้าได้เท่าไรก็นำไปหักลบกับการใช้ไฟฟ้า โดยจ่ายเพียงส่วนต่างเท่านั้น การเปิดเสรีเช่นนี้นอกจากจะลดก๊าซเรือนกระจกได้แล้ว ยังสามารถลดความสูญเสียของไฟฟ้าระหว่างการขนส่งจากโรงไฟฟ้าไปสู่บ้านเรือน ที่ปกติจะสูญเสียถึง 5-10% ได้ ซึ่งภาคครัวเรือน หรือเอสเอ็มอี สามารถกลับมาพึ่งพาตัวเองได้
ปมปัญหาราคาพลังงาน จึงเป็นเรื่องที่ต้องจับตาต่อไปว่า รัฐบาลที่กำลังจะหมดวาระในอีกไม่นาน จะบริหารจัดการราคาพลังงานอย่างไร กับหนี้สินที่นำไปอุ้มราคาพลังงานหลายแสนล้านบาท ไหนจะการปรับลดภาษีสรรพสามิตนํ้ามันดีเซลที่ต้องสูญรายได้รวมแล้วนับแสนล้านบาท รัฐจะบริหารจัดการอย่างไรให้ทุกอย่างสมดุลมากที่สุด ทั้งค่าครองชีพประชาชน ขีดความสามารถแข่งขันการค้าของภาคเอกชนที่ต้องสู้กับประเทศเพื่อนบ้าน ภาระของหน่วยงานที่ต้องเข้ามาแบกภาระแทนรัฐบาล กับนโยบายซื้อใจประชานิยมบิด ๆ เบี้ยว ๆ!!
น้ำมันข่าวดี-แอลพีจีข่าวร้าย
วิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนนํ้ามันเชื้อเพลิง (สกนช.) ย้ำชัด ๆ ว่า การลดราคาขายปลีกนํ้ามันดีเซลลง 50 สตางค์ต่อลิตร ที่จะเริ่มมีผลในวันที่ 15 ก.พ.นี้ส่งผลให้ราคาขายปลีกดีเซลจะเป็น 34.50 บาทต่อลิตรซึ่งนับเป็นการปรับลดลงครั้งแรกในรอบ 7 เดือน เนื่องจากราคา นํ้ามันตลาดโลกที่อ่อนตัวลง ทำให้กองทุนฯสามารถเก็บเงินจากดีเซล ณ วันที่ 2 ก.พ.อยู่ที่ 5.10 บาทต่อลิตร ประกอบกับ ครม.ได้อนุมัติปรับลดภาษีสรรพสามิตดีเซล 5 บาทต่อลิตรต่ออีก 4 เดือน (21 ม.ค.-20 พ.ค. 66) เป็นมาตรการต่อเนื่องตั้งแต่ ก.พ. 65 เป็นต้นมา จึงส่งผลให้การบริหารจัดการสภาพคล่องของกองทุนนํ้ามันเชื้อเพลิงปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น
ส่วนจะลดลงได้ถึง 2 บาทต่อลิตร ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ก็มีโอกาส หากตลาดโลกยังคงลดลง จึงต้องติดตามตลาดโลกและคงใช้วิธีทยอยลดเพราะตลาดโลกยังคงผันผวนสูงและไม่ให้กองทุนฯขาดรายได้หรือมีความเสี่ยงเกินไป โดยฐานะกองทุนนํ้ามันเชื้อเพลิง วันที่ 29 ม.ค. 66 ติดลบอยู่ที่ 113,436 ล้านบาท โดยนํ้ามันติดลบ 68,133 ล้านบาท และแอลพีจีติดลบ 45,303 ล้านบาท เนื่องจากราคาแอลพีจี ตลาดโลกล่าสุดแตะ 800 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันทำให้กองทุนฯต้องอุดหนุนอยู่ประมาณ 6.12บาทต่อกก. หากให้สะท้อนต้นทุนจริงราคาแอลพีจีต้องอยู่ที่ 460-470 บาทต่อถัง15 กิโลกรัม (กก.) แต่ขณะนี้ราคาอยู่ที่เพียง 408 บาทต่อถัง15 กก.
สารพัดปัจจัยดันค่าไฟงวดใหม่
“คมกฤช ตันตระวาณิชย์” เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ระบุถึงทิศทางการประเมินค่าเอฟทีงวดใหม่ ว่า ต้องรอดูปัจจัยในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยน ราคาแอลเอ็นจี สปอต ราคานํ้ามันและปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยว่าจะมีเพิ่มขึ้นหรือน้อยลงเพียงใด ซึ่ง จะเป็นปัจจัยหลักที่จะส่งผลต่อค่าเอฟที คาดว่าเดือน มี.ค.นี้จะเริ่มพิจารณา ซึ่งยังฟันธงไม่ได้ เพราะต้องดู ราคาแอลเอ็นจีสปอตถูกลง อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้น สถานการณ์ราคานํ้ามันก็มีแนวโน้มดีขึ้น ซึ่งจะเหลือเรื่องปริมาณก๊าซในอ่าวไทยว่าจะเพิ่มขึ้นมากตามที่คาดการณ์หรือไม่ จากก่อนหน้านี้คาดการณ์ว่าจะเพิ่ม การผลิตเป็น 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในเดือน เม.ยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. และเป็น 600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในปลายปี 66 และปริมาณแก๊สในเมียนมาที่ไทยนำเข้ามายังคงรักษาปริมาณเดิมได้หรือไม่ ถ้าได้ตามปัจจัยทั้งหมดที่ดีขึ้น ก็ทำให้ค่าเอฟทีงวดใหม่มีแนวโน้มลดลง โดยก่อนหน้านี้คณะกรรมการพลังงานแห่งชาติหรือกพช. ได้มีมติให้ บมจ.ปตท. ส่งแก๊สมาเพิ่มโดยไม่ให้เข้าโรงแยกแก๊ส จึงทำให้ราคาแก๊สเป็นอีกราคาหนึ่ง หากแก๊สในอ่าวไทยเข้ามาทดแทนที่ปตท.เติมตรงนั้นให้ได้ก็สมดุลกันไป การช่วยเหลือภาคเอกชนและปัจจัยเอื้อก็เป็นปัจจัยบวก ส่วนประเด็นที่เอกชนแสดงความกังวลเรื่องค่าเอฟทีของไทยสูงกว่าเวียดนามเท่าตัว ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน ทางเวียดนามอิงเชื้อเพลิงถ่านหินค่อนข้างมาก อาจไม่ได้รับผลกระทบจากราคาแก๊ส เข้าใจว่าเวียดนามอาจปรับค่าไฟเพิ่มขึ้นในอนาคตใกล้ ๆ นี้
…ทีมเศรษฐกิจ…