“เฮนรี คิสซิงเจอร์” อดีตนักการทูตสหรัฐฯ ทรงอิทธิพล ถึงแก่กรรม

เมื่อคืนที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น เฮนรี คิสซิงเจอร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ในสมัยของริชาร์ด นิกสัน ประธานาธิบดีคนที่ 37 ของสหรัฐฯ ได้ถึงแก่กรรมในวัย 100 ปี คิสซิงเจอร์คือหนึ่งในนักการเมืองที่มีชีวิตอยู่ยาวนานและโลดโผนที่สุดคนหนึ่ง ของโลก โดยเป็นผู้กุมนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ในช่วงทศวรรษที่ 1960-1970 ซึ่งเป็นช่วงที่โลกเผชิญกับความปั่นป่วนจากสงครามในหลายพื้นที่ จากการแข่งขันด้านอุดมการณ์ระหว่างโลกเสรีและโลกคอมมิวนิสต์หนึ่งในนั้นคือ สงครามเวียดนาม

“โรซาลินน์ คาร์เตอร์” อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งสหรัฐฯ ถึงแก่กรรม

คอมมานโดฝรั่งเศสยุคสงครามโลก เสียชีวิตในวัย 100 ปี

คิสซิงเจอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในฐานะคนที่ทำให้สงคราม เวียดนามยุติลง อย่างไรก็ตาม เสียงของคณะกรรมการในช่วงนั้นแตก หลังมีเอกสารที่ชี้ว่า คิสซิง เจอร์คือผู้ที่ทำให้สงครามเวียดนามลากยาวออกไปกว่าที่ควรจะเป็น

มื่อคืนที่ผ่านมา เฮนรี คิสซิงเจอร์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และอดีตที่ ปรึกษาสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ได้ถึงแก่กรรมด้วยวัย 100 ปีที่บ้านพักใน รัฐคอนเนตทิคัต ประเทศสหรัฐอเมริกา

คิสซิงเจอร์เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 1923 ที่เมืองเฟิร์ธ รัฐบาวาเรีย ประเทศ เยอรมนี และอพยพพร้อมครอบครัวมายังสหรัฐฯ เมื่อปี 1938 ก่อนที่นาซีเยอรมนี จะเริ่มกวาดล้างชาวยิวในยุโรป หลังจากได้สัญชาติอเมริกันเมื่อปี 1943 คิสซิงเจอร์เข้ารับราชการในกองทัพบก สหรัฐฯ ที่ประจำการอยู่ในยุโรปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมา คิสซิงเจอร์สำเร็จการศึกษารัฐศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดในปี 1950ก่อนจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอกในปี 1952 และ 1954 ตามลำดับ

คิสซิงเจอร์ ผู้เปิดความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ ยุคสงครามเย็น

ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา คิสซิงเจอร์คือ หนึ่งในผู้ที่ทรงอิทธิพลด้านการต่างประเทศ มากที่สุดของหนึ่งของสหรัฐฯ และโลก ยุคที่คิสซิงเจอร์โดดเด่นและรุ่งเรือง คือช่วงทศวรรษ 1970 ในฐานะที่ปรึกษาความ มั่นคงแห่งชาติ ควบตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศภายใต้รัฐบาลริชาร์ด นิกสัน ประธานาธิบดีคนที่ 37 ของสหรัฐฯ ในช่วงเวลาดังกล่าว โลกกำลังอยู่ในช่วงสงครามเย็น ซึ่งเป็นสงครามทางอุมด มการณ์ระหว่างโลกเสรีที่นำโดยสหรัฐฯ และโลกคอมมิวนิสต์ที่นำโดยสหภาพ โซเวียต

ขณะเดียวกัน ก็เป็นช่วงเวลาที่สงครามเย็นทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับ จีนซึ่งปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ คลอนแคลนและเต็มไปด้วยความไม่ไว้เนื้อ เชื่อใจกัน แต่เพื่อป้องกันไม่ให้จีนใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียต ซึ่งปกครองด้วยระบบ คอมมิวนิสต์คล้ายกันและมีความเห็นต่างกันในบางประเด็น

คิสซิงเจอร์จึงตัดสินใจเดินทางเยือนจีนอย่างลับๆ ในปี 1971 เพื่อหาทางสถาปนา ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีนใหม่การเยือนจีนครั้งแรกของคิสซิงเจอร์ประสบความสำเร็จ และเป็นการปูทางให้ ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ได้เยือนจีนอย่างเป็นทางการในปีถัดมา ส่งผลให้ ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ กลับมาดีขึ้นและความขัดแย้งทุเลาลง บทบาทของคิสซิงเจอร์ในคราวนั้นทำให้ชาวจีนจดจำ โดยผู้นำจีนหลายคนใน เวลาต่อมาเรียกเขาว่าเป็นเพื่อนเก่าที่ดี

หลังจากนั้น คิสซิงเจอร์ได้เดินทางกลับไปจีนอีกกว่า 100 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดที่เขา ไปคือเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาในคราวนั้นประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ผู้นำจีนจัดการต้องรับเขาอย่างอบอุ่น ถึงแม้ใน ช่วงเวลาดังกล่าว ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ กำลังตึงเครียดอย่างหนัก จากความขัดแย้งเรื่องการค้า ปัญหาบนไต้หวัน และเหตุบอลลูนสอดแนมจีนที่ลอย เข้าไปเหนือน่านฟ้าสหรัฐฯจีนแสดงความอาลัยต่อการถึงแก่กรรมของคิสซิงเจอร์

จีนแสดงความอาลัยต่อการถึงแก่กรรมของคิสซิงเจอร์

หลังข่าวการถึงแก่อนิจกรรมของคิสซิงเจอร์เผยแพร่ออกมาอย่างเป็นทางการ หวัง เหวินปิน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน ได้ออกมาแถลงแสดงความ อาลัยต่อการจากไปของคิสซิงเจอร์เมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา โดยระบุว่า คิสซิงเจอร์เป็นเพื่อนที่ดีของ จีนและมีส่วนในการพัฒนาความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ และชาวจีนจะจดจำคุณูปการและความจริงใจของคิสซิงเจอร์ตลอดไป

ด้านประชาชนจีนในกรุงปักกิ่ง ได้ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวของสำนักข่าวเอเอฟพีเป็น เสียงเดียวกันว่า พวกเขาเสียใจที่ได้ยินข่าวการจากไปของคิสซิงเจอร์ ซึ่งเป็นเพื่อนที่เก่า แก่และดีของจีนมาโดยตลอด

นอกจากเป็นผู้นำการเปิดประตูทางการทูตระหว่างสหรัฐฯ กับจีน คิสซิงเจอร์ยังมีบทบาททำให้เกิดการเจรจาเพื่อควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ระหว่าง สหรัฐฯ กับสหภาพโซเวียตตลอดจนขยายความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับอิสราเอลและประเทศในกลุ่ม อาหรับ คิสซิงเจอร์กับความสำเร็จและล้มเหลวบนเส้นทางการทูต

คิสซิงเจอร์ – สนธิสัญญาปารีสเวียดนาม

อย่างไรก็ดี หนึ่งบทบาทที่ทำให้อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ รายนี้ได้รับการจดจำ คือ การผลักดันให้เกิดการทำสนธิสัญญาปารีสเพื่อยุติสงครามเวียดนาม บทบาทนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี 1973 ร่วมกับ เล ดิ๊ก เถาะ นักการเมืองชาวเวียดนามเหนือ

อย่างไรก็ตาม การมอบรางวัลโนเบลสาชาสันติภาพให้กับคิสซิงเจอร์กลายเป็น ประเด็นถกเถียงร้อนแรง หลังจากมีเอกสารและหลักฐานที่ชี้ว่า เขาคือหนึ่งในผู้ที่ ทำให้สงครามเวียดนามยืดเยื้อออกไปทั้งที่ควรจะยุติได้ตั้งแต่ก่อนหน้านั้น

สงครามเวียดนามขยายต่อไปที่กัมพูชาและลาว มีหลักฐานที่ชี้ด้วยว่าในช่วงปี 1969-1973 ซึ่งเป็นช่วงที่สงครามดำเนินอยู่

 “เฮนรี คิสซิงเจอร์” อดีตนักการทูตสหรัฐฯ ทรงอิทธิพล ถึงแก่กรรม

คิสซิงเจอร์คือ ผู้ที่ลงนามอนุมัติให้มีการปูพรมทิ้งระเบิดโจมตีใส่กัมพูชาอย่างหนัก มากกว่า 3,875 ครั้ง ส่งผลให้มีพลเรือนเสียชีวิตกว่า 50,000 คน และนำไปสู่สงครามกลางเมืองในกัมพูชา จนผู้นำเขมรแดงอย่างพลพต เถลิง อำนาจและฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเขมรไปร่วม 300,000 รายคำพูดจาก สล็อตวอเลท

นี่ทำให้นักวิเคราะห์และนักวิจารณ์บางส่วนเรียกคิสซิงเจอร์ว่าเป็น อาชญากรสงคราม ข้อถกเถียงเรื่องบทบาทของคิสซิงเจอร์ในสงครามเวียดนาม ทำให้คณะกรรมการ พิจารณารางวัลโนเบลสาชาสันติภาพลาออก 2 ราย ขณะที่ เล ดิ๊ก เถาะ ปฏิเสธไม่ เข้ารับรางวัลร่วมกับคิสซิงเจอร์

คริส ดิกซอน คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัยแมคควอรี ประเทศ ออสเตรเลีย ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับมรดกทางการเมืองระหว่างประเทศของคิสซิง เจอร์ไว้อย่างน่าสนใจ โดยระบุว่า มรดกทางการเมืองของคิสซิงเจอร์ จะยังคงเป็นที่ถกเถียงไปอีกนาน แต่สิ่งหนึ่งที่ ไม่สามารถปฏิเสธได้คือ คิสซิงเจอร์เป็นนักเจรจาต่อรองในศตวรรษที่ 20 และ 21 ที่หาตัวจับได้ยากยิ่ง

ขณะเดียวกัน เขาก็เป็นบุคคลที่มีความสำเร็จจากการเปิดฉากความสัมพันธ์กับจีน และมีความล้มเหลวในการจบสงครามเวียดนามจนนำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ใน เขมรช่วงทศวรรษที่ 1970

นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งประเทศที่คิสซิงเจอร์เข้าไปมีบทบาทสร้างนโยบายการต่าง ประเทศคือ เกาหลีเหนือ เนื่องจากเขาเคยเป็นที่ปรึกษาแนะนำให้โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีในขณะนั้น พบกับ คิม จองอึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือที่ประเทศสิงคโปร์

คิสซิงเจอร์กับบทบาทการปลดนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ

ในเวลานั้น คิสซิงเจอร์เป็นที่ปรึกษาด้านการต่างประเทศให้แก่อดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ มาอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในคำแนะนำของเขาคือ การขอให้ทรัมป์พบกับคิมจองอึน เพื่อหารือประเด็นที่ นานาชาติกังวล โดยเฉพาะโครงการพัฒนาขีปนาวุธและอาวุธนิวเคลียร์ของ เกาหลีเหนือ

คิสซิงเจอร์เป็นหนึ่งในผู้ที่ออกมาเตือนว่า หากสหรัฐฯ และจีนปล่อยให้ เกาหลีเหนือเดินหน้าโครงการดังกล่าวและครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ อาจทำให้ ชาติอื่นๆ แสวงหาการครอบครองอาวุธนิวเคลียร์เช่นเดียวกัน และหากแนวคิดนี้ได้แพร่กระจายออกไป ก็อาจส่งผลต่อความสามารถของสหรัฐฯ ในการยับยั้งการใช้อาวุธนิวเคลียร์ของชาติอื่นๆ ด้วย

นี่จึงทำให้ทรัมป์ เชิญ คิม จองอึน เข้าร่วมการประชุมสุดยอดที่ประเทศสิงคโปร์ในวันที่ 12 มิถุนายน 2018การประชุมครั้งนั้นถือเป็นการประชุมครั้งแรกในประวัติศาสตร์ระหว่างผู้นำสหรัฐฯ และเกาหลีเหนือ โดยประเด็นหลักของการเจรจาสันติภาพได้เน้นไปที่การหารือ เรื่องการปลดอาวุธและยุติโครงการนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี

การหารือระหว่างทรัมป์ และคิม จองอึนเป็นไปได้ด้วยดี โดยทั้งสองฝ่ายได้ลงนาม ข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์ร่วมกัน 4 ข้อได้แก่คำมั่นสัญญาในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีเหนือขึ้นมาใหม่ ความพยายามร่วมกันในการสร้างสันติภาพที่มั่นคงและยั่งยืนบนคาบสมุทรเกาหลี และข้อสำคัญคือ เกาหลีเหนือให้คำมั่นสัญญาว่าจะเดินหน้าปลดอาวุธนิวเคลียร์ แบบสมบูรณ์บนคาบสมุทรเกาหลี

แต่วันนี้ความสัมพันธ์เกาหลีเหนือกับสหรัฐฯ ยังคงตึงเครียด ท่ามกลางความพยายามของเกาหลีเหนือในการพัฒนาโครงการอาวุธนิวเคลียร์ และล่าสุด เกาหลีเหนือเพิ่งส่งดาวเทียมสอดแนมทางการทหารขึ้นสู่วงโคจร หลัง สหรัฐฯ และชาติพันธมิตรฝึกซ้อมทางทหารบนคาบสมุทรเกาหลี

เกาหลีเหนือปัดเจรจาสหรัฐฯ หลังความสัมพันธ์ตึงเครียดหนัก

เมื่อช่วงเช้าวันนี้ สำนักข่าว KCNA สื่อทางการของเกาหลีเหนือรายงานว่า เกาหลีเหนือจะไม่เจรจาใดๆ กับสหรัฐฯ ที่แสดงพฤติกรรมตีสองหน้า โดยต่อหน้าเสนอช่องทางเจรจา แต่ขณะเดียวกันได้เพิ่มกิจกรรมทางทหารบนสมุทรเกาหลีอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ รายงานยังระบุด้วยว่า คิม โยจอง น้องสาวของคิม จองอึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ และเจ้าหน้าที่อาวุโสของเกาหลีเหนือ ได้ออกมาประณามสหรัฐฯว่า ปฏิบัติตัวสองมาตรฐาน และทำตัวใช้อำนาจบาตรใหญ่ตามอำเภอใจ

ขณะเดียวกัน คิม โย-จอง ยังพูดถึงความพยายามของ ลินดา โธมัส-กรีนฟิลด์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติ ที่ระบุถึงการกลับมาเปิดช่องทางการหารือกับเกาหลีเหนือว่า ขาดข้อแก้ตัวในเรื่องของการปฏิเสธสิทธิอธิปไตยในการพัฒนาด้านอวกาศของเกาหลีเหนือ

ทั้งนี้ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา มีรายงานระหว่างการหารือของที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเกี่ยวกับการปล่อยดาวเทียมสอดแนมของเกาหลีเหนือและผู้แทนสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติ ก็ได้ปะทะคารมกับผู้แทนของเกาหลีเหนืออย่างดุเดือดในช่วงท้ายของการประชุม โดยทั้งสองฝ่ายต่างโต้แย้งถึงสิทธิในการป้องกันตนเอง ซึ่งนี่ถือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก

เปิดสถิติหวยออกย้อนหลัง 15 ปี งวด 1 ธันวาคม

ชาวเน็ตโวยแอปฯ SCB ล่มวันเงินเดือนออก ธนาคารแจงเร่งแก้ไขเร็วที่สุด

ป.ป.ส. เข้าค้นบ้าน "สว.อุปกิต" ยึดรถหรู-ปืน อายัดแล้ว