"เปิดงบการเงิน" บริษัทรับเหมาสะพานข้ามแยกลาดกระบังถล่ม

สำหรับกิจการร่วมค้า ธาราวัญ-นภา ไม่ได้จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แต่ต้องแจ้งจดต่อกรมสรรพากร และมีหน้าที่ต้องนำส่งงบการเงินต่อกรมฯ ตาม พ.ร.บ.บัญชี ระบุว่า โครงการดังกล่าว เป็นการก่อสร้างทางยกระดับคอนกรีตเสริมเหล็ก บนถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง ขนาด 4 ช่องจราจร 1 แห่ง ระยะทางรวมทั้งโครงการประมาณ 3,500 เมตร มีสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าของโครงการ

ผู้รับจ้าง คือ กิจการร่วมค้า ธาราวัญ – นภา โครงการนี้ลงนามในสัญญาลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 เริ่มต้นสัญญา 23 กุมภาพันธ์ 2564

สิ้นสุดสัญญา 11 สิงหาคม 2566 แต่ได้แก้ไขสัญญาไปแล้ว 2 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2565 และ ครั้งที่ 2 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 ระยะเวลาการก่อสร้างรวม 900 วัน คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือน ธันวาคม 2567 ค่าก่อสร้างราว 1,664 ล้านบาท เป็บเงินงบประมาณจากกรุงเทพมหานคร 100% โดยบริษัทเอกชนได้ฯเบิกจ่ายไปแล้ว 9 ครั้ง เป็นเงินราว 337 ล้านบาท

ต่อมาทีมข่าวตรวจสอบงบการเงินของ “กิจการร่วมค้า ธาราวัญ – นภา” จากเว็บไซต์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า ปีแรก คือ ปี 2564 มีรายได้รวมราว 37 ล้านบาท ส่วนปี 2565 รายได้รวมกระโดดขึ้นราว 246 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 563%

ขณะเดียวกัน ก็พบว่ามีค่าใช้จ่ายรวม ปี 2565 สูงมาก อยู่ที่ 247 ล้านบาท จากปีก่อนหน้าที่อยู่ที่ 35 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมา 593 %

ส่งผลให้ปี 2565 บริษัทฯขาดทุนประมาณ 2,300,00 บาท จากปีก่อนที่กำไรประมาณ 870,000 บาท หรือคิดเป็นกำไรลดลง – 373 %

เจาะโครงการสร้าง "ทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง" มูลค่า 1,664 ล้านบาท เหตุสะพานถล่ม

ประมวลภาพสะพานข้ามแยกถล่ม!

สำหรับกิจการร่วมค้า ธาราวัญ – นภา ประกอบด้วย

  • บริษัท ธาราวัญ คอนสตรัคชั่น จำกัด
  • บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด

และจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า บริษัท ธาราวัญ คอนสตรัคชั่น จำกัด 1 ใน 2 กิจการร่วมค้า ยังไม่ได้มีการนำส่งงบการเงินของบริษัทในปี 2565 ให้กับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

อย่างไรก็ตาม สำหรับกิจการร่วมค้า ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดไว้ว่าได้แก่ กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไร ระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือระหว่างบริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือนิติบุคคลอื่น

ซึ่งกิจการที่จะเข้าลักษณะเป็นกิจการร่วมค้าจะต้องมีลักษณะ ดังนี้

1.1 ได้ตกลงเข้าร่วมทุนกันไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สิน แรงงาน หรือเทคโนโลยี หรือ ร่วมกันในผลกำไรหรือขาดทุนอันจะพึงได้ตามสัญญาที่กระทำร่วมกันกับบุคคลภายนอก หรือคำพูดจาก เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด 2024

 "เปิดงบการเงิน" บริษัทรับเหมาสะพานข้ามแยกลาดกระบังถล่ม

1.2 ได้ร่วมกันทำสัญญากับบุคคลภายนอก โดยระบุไว้ในสัญญาว่าเป็นกิจการร่วมค้า หรือ

1.3 ได้ร่วมกันทำสัญญากับบุคคลภายนอก โดยสัญญากำหนดให้ต้องรับผิดร่วมกันในงานที่ทำไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน และต้องรับค่าตอบแทนตามสัญญาร่วมกัน โดยสัญญาไม่ได้แบ่งแยกงานและค่าตอบแทนระหว่างกันไว้อย่างชัดเจน

2. กรณีกิจการร่วมค้าฯ ได้มีการจัดทำสัญญาจัดตั้งกิจการร่วมค้า และดำเนินการเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามข้อ 1. พร้อมกับดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งกิจการร่วมค้าต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ ก ของกรมสรรพากรแล้ว กิจการร่วมค้าฯ จะเข้าลักษณะเป็น "บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล" ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 66 แห่งประมวลรัษฎากร

อย่างไรก็ตาม สาเหตุการเกิดเหตุสลดครั้งนี้ ยังอยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบต่อไป