ผู้แทนรัสเซีย-ยูเครน โทษกันไปมาใน UNSC ปมเขื่อนแตก

การโทษกันไปมาระหว่างรัสเซียและยูเครนไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในระดับผู้นำประเทศเท่านั้น ล่าสุดเมื่อคืนที่ผ่านมา ผู้แทนของรัสเซียและยูเครนในองค์การสหประชาชาติต่างโต้เถียงกันไปมากลางที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ด้วย วาสซิลี เนเบนเซีย เอกอัครทูตรัสเซียประจำสหประชาชาติ กล่าวว่า ยูเครนคือผู้ที่ระเบิดเขื่อนเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้คน หลังล้มเหลวในการทำปฏิบัติการโต้กลับรัสเซียจนต้องเสียทหารไปหลักร้อยนายเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

โรงไฟฟ้า-คาบสมุทรไครเมีย อาจเจอผลกระทบจากเขื่อนแตก

“เขื่อนแตก” ในภูมิภาคเคอร์ซอน ยูเครนอ้างเป็นฝีมือรัสเซียวางระเบิด

หลังจากนั้นเซอร์กี คิสลิตสยา เอกอัครทูตยูเครนประจำสหประชาชาติ ก็พูดได้สวนกลับทูตรัสเซียทันทีว่า รัสเซียคือผู้ทำลายเขื่อน เนื่องจากตัวเขื่อนไม่สามารถถูกทำลายได้จากการยิงภายนอก และผู้ที่ครอบครองเขื่อนแห่งนี้คือ รัสเซีย

ประเด็นเรื่องผู้ทำลายเขื่อนโนวา คาโคฟกายังคงเป็นที่ถกเถียงและไม่มีใครสามารถยืนยันได้แบบชัดๆ ว่า ยูเครนหรือรัสเซียเป็นคนลงมือ แม้แต่สหรัฐฯ ก็ยังไม่กล้ายืนยันว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นฝีมือฝ่ายใด

วานนี้ 6 มิ.ย. จอห์น เคอร์บี โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ได้ออกมาแถลงข่าวเกี่ยวกับเรื่องเขื่อนโนวา คาโคฟกา โดยระบุว่าสหรัฐฯ กำลังเก็บข้อมูลเรื่องนี้อยู่และไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเกิดอะไรขึ้นที่เขื่อนแห่งนี้

ประเด็นเรื่องผู้ลงมือทำลายเขื่อนแห่งนี้เป็นประเด็นใหญ่และประเด็นสำคัญที่หลายฝ่ายต้องการรู้ เนื่องจากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเรื่องนี้ถือว่ารุนแรงมากและผิดกฎหมายระหว่างประเทศ จนเข้าข่ายการก่ออาชญากรรมสงคราม

ตอนนี้บรรดานักวิเคราะห์และนักวิชาการจำนวนไม่น้อยต่างออกมาอภิปรายและงัดหลักฐานเพื่อสืบหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นนี้อย่างจริงจัง โดยข้อสันนิษฐานมีทั้งที่ระบุว่ายูเครนเป็นผู้ระเบิดเขื่อนเองและรัสเซียเป็นผู้ระเบิดเขื่อน

สำหรับกรณีแรก ถ้ายูเครนเป็นผู้ลงมือระเบิดเขื่อน ยูเครนทำไปเพราะอะไรและจะได้อะไรจากหายนะครั้งนี้

มารินา มีรอน นักวิจัยประจำภาควิชาสงครามศึกษาจากคิงส์ คอลเลจ ลอนดอนระบุว่า ถ้ายูเครนเป็นผู้ระเบิดเขื่อน สาเหตุอาจเป็นเพราะต้องการดึงดูดความสนใจของรัสเซียจากการโต้กลับในฤดูร้อน

นอกจากนี้ เธอยังกล่าวเสริมว่าการระเบิดเขื่อนไม่ใช่แผนใหม่ แผนแบบนี้เคยถูกใช้มาแล้วในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพฟินแลนด์และสหราชอาณาจักร เพื่อสร้างหล่มโคลนและน้ำขัง ป้องกันการรุกคืบของกองทัพรถถังฝ่ายศัตรู

นักวิจัยรายนี้ ยกตัวอย่างเพิ่มเติมว่า ยูเครนเคยใช้แผนระเบิดเขื่อนเพื่อขวางกองทัพรัสเซียในเมืองเออร์พิน ตอนช่วงต้นของสงครามเมื่อปีที่แล้ว ขณะเดียวกัน นักวิจัยรายนี่ก็ได้อธิบายถึงแรงจูงใจในการระเบิดเขื่อนของฝั่งรัสเซียเช่นกัน

เธออธิบายว่า ถ้าเรื่องนี้เป็นฝีมือของรัสเซีย เหตุผลเดียวที่อยู่เบื้องหลังการกระทำนี้คือรัสเซียต้องการหยุดการโต้กลับในฤดูร้อนของยูเครน

เนื่องจากวิกฤตด้านมนุษยธรรมจะทำให้ยูเครนต้องหันไปช่วยประชาชนก่อน และน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่จะทำให้เกิดดินโคลนและแอ่งน้ำ จนกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางการเคลื่อนรถถังเพื่อทำปฏิบัติการยึดเคอร์ซอนตะวันออก

ความเห็นของนักวิจัยจากคิงส์ คอลเลจ ลอนดอนข้อนี้ สอดคล้องกับความเห็นของมาเชจ์ มาติเชียค ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง อดีตรองผู้บัญชาการฝ่ายข่าวกรองทางทหารของโปแลนด์ที่ระบุว่า การระเบิดเขื่อนจะช่วยป้องกันกองทัพรัสเซียจากปฏิบัติการโต้กลับของยูเครนในแคว้นเคอร์ซอนตะวันออก

 ผู้แทนรัสเซีย-ยูเครน โทษกันไปมาใน UNSC ปมเขื่อนแตก

อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์รายนี้เชื่อว่าแผนระเบิดของรัสเซียซื้อเวลาได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะกองทัพยูเครนมียุทโธปกรณ์ที่พร้อมทำสงครามในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยดินโคลนอ่อนนุ่ม

คำพูดจาก เว็บสล็อตลิขสิ