ปลาใกล้โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ มีระดับกัมมันตรังสีเกินมาตรฐาน 180 เท่า

จากกรณีที่ญี่ปุ่นจะปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงสู่ทะเล ซึ่งสร้างความกังวลให้กับประชาชนในประเทศและประเทศข้างเคียงนั้น แม้จะมีความพยายามสื่อสารถึงความปลอดภัยมาโดยตลอด แต่ก็ยังมีหลายคนที่กังขาและไม่เชื่อมั่น

ล่าสุด Tokyo Power Electric Company (TEPCO) ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ รายงานพบปลาที่อาศัยอยู่ใกล้กับทางระบายน้ำของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ มีระดับของสารกัมมันตภาพรังสีซีเซียมสูงกว่ามาตรฐานความปลอดภัยของญี่ปุ่นถึง 180 เท่าคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

TEPCO บอกว่า เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ที่ผ่านมา มีการจับปลาคุโระเมบารุ (Black Rockfish) ใกล้กับโรงไฟฟ้าขึ้นมาได้ เมื่อนำมาตรวจสอบ พบว่ามีซีเซียม-137 (Cs-137) อยู่ที่ 18,000 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม แต่ระดับสูงสุดที่กฎหมายกำหนดอยู่ที่ 100 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัมเท่านั้น เท่ากับว่าเกินมาตรฐานถึง 180 เท่า

TEPCO ยังรายงานว่า น้ำฝนจากพื้นที่รอบเครื่องปฏิกรณ์ 1, 2 และ 3 ซึ่งหลอมละลาย (Meltdown) ระหว่างภัยพิบัติสึนามิปี 2011 ได้ไหลลงสู่พื้นที่เขื่อนกันคลื่นชั้นใน ซึ่งเป็นบริเวณที่จับปลาคุโระมาเบรุตัวดังกล่าวได้ เมื่อตรวจความเข้มข้นของซีเซียมในตะกอนก้นเขื่อน ก็วัดได้มากกว่า 100,000 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม

“เนื่องจากน้ำปนเปื้อนไหลเข้าสู่ท่าเรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิทันทีหลังจากเกิดอุบัติเหตุ TEPCO จึงนำปลาออกจากท่าเรือเป็นระยะ ๆ ตั้งแต่ปี 2012 โดยใช้แหที่ติดตั้งไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาหนีออกจากท่าเรือ” เจ้าหน้าที่ของ TEPCO บอก

เดิมทีมีการสุ่มตรวจปลาและน้ำในพื้นที่เขื่อนกันคลื่นชั้นในของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะเป็นประจำ แต่ระงับไปตั้งแต่ปี 2016

“อย่างไรก็ตาม เมื่อปลาคุโระมาเบรุที่มีความเข้มข้นของสารกัมมันตภาพรังสีเกินมาตรฐานถูกจับได้นอกชายฝั่งของโซมะ (ประมาณ 50 กม. ทางเหนือของโรงไฟฟ้า) ในเดือนมกราคม 2022 เราก็เริ่มสุ่มตัวอย่างอีกครั้งในพื้นที่นี้พร้อมกับการติดตั้งอวนเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาออกจากท่าเรือ” เจ้าหน้าที่ของ TEPCO กล่าว

นอกจากนี้ ยังได้มีการระงับการส่งออกปลาคุโระมาเบรุไปยังนอกจังหวัดฟุกุชิมะตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2022 และยังคงระงับอยู่จนถึงปัจจุบัน

TEPCO บอกว่า ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2022 ถึงพฤษภาคม 2023 มีปลาทั้งหมด 44 ตัวที่มีระดับซีเซียมสูงกว่า 100 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม ถูกพบในท่าเรือโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ เช่น ปลาไหลที่มีซีเซียม 1,700 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม จับได้ในเดือนมิถุนายน 2022 และปลาเทราต์หินที่มีซีเซียม 1,200 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัมในเดือนเมษายน 2023 โดย 90% ของปลาที่ระดับซีเซียมเกินมาตรฐาน จะถูกจับได้ในหรือใกล้กับเขื่อนกันคลื่นชั้นใน

รายงานนี้ดูเหมือนจะยิ่งเป็นการตอกย้ำความกังวลของประชาชนในประเทศและประเทศข้างเคียงเกี่ยวกับความปลอดภัยของการปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วกว่า 1.3 ล้านตัน

ไม่นานมานี้ จีนเริ่มทดสอบกัมมันตภาพรังสีแบบครอบคลุมสำหรับอาหารทะเลนำเข้าจากญี่ปุ่น และผู้ค้าบางรายประกาศยุติการนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากญี่ปุ่น –ขณะที่ฮ่องกงขู่แบนการนำเข้าอาหารจาก 10 จังหวัดของญี่ปุ่น หากการปล่อยน้ำเป็นไปตามแผนที่วางไว้

เรียบเรียงจาก The Guardian

ภาพจาก AFP

ญี่ปุ่นโชว์ความปลอดภัย “น้ำเสียฟุกุชิมะ” ไลฟ์สดชีวิตปลาในน้ำที่ผ่านการบำบัด

เกาหลีเหนือเรียกร้องประชาคมโลก หยุดยั้งญี่ปุ่นปล่อยน้ำโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ

ซีเซียม-137 สารกัมมันตรังสีอันตราย สัมผัสอาจผิวไหม้พุพอง สะสมนานก่อมะเร็งได้

 ปลาใกล้โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ มีระดับกัมมันตรังสีเกินมาตรฐาน 180 เท่า